ประวัติ ของ การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553

ชาวบ้านท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวสังเกตการณ์ภูเขาไฟก่อนหน้าการปะทุ

ปลายปี พ.ศ. 2552 กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นรอบพื้นที่ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ โดยมีแผ่นดินไหวขนาดย่อมหลายพันครั้ง (ส่วนใหญ่มีความรุนแรง 1-2 โมเมนต์-แมกนิจูด ลึกลงไป 7-10 กิโลเมตรใต้ภูเขาไฟ) [2] เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชุดอุปกรณ์ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ซึ่งสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ใช้ที่ทุ่งทอร์วัลต์เซรีในแถบเอยาฟเยิตล์ (ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตรจากจุดที่มีการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุด[3]) ได้แสดงให้เห็นว่า เปลือกท้องถิ่นได้เคลื่อนไปทางทิศใต้ 3 เซนติเมตร โดยการเคลื่อน 1 เซนติเมตร ใช้เวลาภายใน 4 วัน ความผิดปกติของกิจกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้ประกอบกับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของแผ่นเปลือกโลกในพื้นที่ได้ให้หลักฐานแก่นักธรณีฟิสิกส์ว่า หินหนืด (magma) จากใต้แผ่นเปลือกโลกกำลังไหลเข้าสู่กะเปาะหินหนืด (magma chamber) ใต้ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์

กิจกรรมแผ่นดินไหวดังกล่าวยังได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนับตั้งแต่วันที่ 3-5 มีนาคม ได้เกิดแผ่นดินไหวเกือบ 3,000 ครั้งซึ่งตรวจวัดได้ที่จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในภูเขาไฟ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก (2 แมกนิจูด) จนไม่สามารถอ่านได้ว่าเป็นเครื่องแสดงถึงการปะทุของภูเขาไฟ แต่แผ่นดินไหวบางส่วนถูกตรวจพบได้ในเมืองใกล้เคียง[4] การปะทุคาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 22.30 ถึง 23.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ห่างจากธารน้ำแข็งในเนินลาดทางเหนือของช่องเขาฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์ไปทางทิศตะวันออกในระยะไม่กี่กิโลเมตร[5][6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 http://www.skybrary.aero/index.php/Volcanic_Ash http://www.fotopedia.com/en/2010_eruptions_of_Eyja... http://www.life.com/image/first/in-gallery/41852/e... http://vimeo.com/11008464 http://www.dmu.dk/International/News/vulcanicplume... http://www.geo.mtu.edu/volcanoes/hazards/primer/te... http://cimss.ssec.wisc.edu/goes/blog/archives/4872 http://earthobservatory.nasa.gov/NaturalHazards/ev... http://www.nasa.gov/topics/earth/features/iceland-... http://www.noaa.gov/features/03_protecting/volcani...